โครงสร้างฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็ก
ฐานรากเป็นโครงสร้างสำคัญที่รองรับน้ำหนักของอาคารเพื่อถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดินที่มีความสามารถในการรับกำลังที่เพียงพอ
การออกแบบฐานรากโดยทั่วไปจะอ้างอิงการคำนวณ
ซึ่งเป็นหน้าที่ของวิศวกรโยธาในการรับผิดชอบรายการคำนวณ ชนิดของฐานรากที่ใช้ในการออกแบบสำหรับบ้านพักอาศัยมีอยู่สองชนิด
คือ
+ฐานรากแผ่
เป็นฐานที่ออกแบบสำหรับการก่อสร้างในพื้นที่ที่ความสามรถของชั้นดินในการรับน้ำหนักสูงและมีระดับความลึกของชั้นดินไม่ลึกมากนัก
นอกจากนั้นน้ำหนักของโครงสร้างอาจมีไม่มาก เช่นบ้านพักอาศัยชั้นเดียว เป็นต้น
การตัดสินใจเลือกใช้ฐานรากแผ่จึงมีความจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องทราบถึงคุณสมบัติและความสามารถของดินในชั้นที่ฐานแผ่วางอยู่
โดยใช้การทดสอบทางธรณีวิทยาเป็นหลัก
แบบแปลนของฐานแผ่นอกจากเราใส่รายละเอียดของโครงสร้างตามที่วิศวกรออกแบบ เหล็กที่เสริมอยู่ในโครงสร้างส่วนที่เป็นฐานจะวางสานกันเป็นตะแกรง
ดังนั้น เราต้องให้ผู้รับเหมาจัดระยะห่างสำหรับการวางเหล็กให้ได้ตามจำนวน
+ฐานรากเสาเข็ม เป็นฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักจากอาคารลงสู่เสาเข็มเพื่อกระจายน้ำหนักลงสู่ดิน การรับน้ำหนักของฐานรากชนิดนี้จะอาศัยแรงเสียดทานระหว่างผิวเสาเข็มกับชั้นดินร่วมกับความสามารถในการรับน้ำหนักที่ปลายเสาเข็ม
วิศวกรผู้ออกแบบจะอาศัยข้อมูลทางธรณีวิทยาในการคำนวณเพื่อประมาณค่าสำหรับการออกแบบ รายละเอียดการเสริมเหล็กจะมีเพิ่มเติมในส่วนของเสาเข็มที่ฝังเข้ามาในฐานราก และขนาดของฐานรากชนิดนี้จะเล็กกว่าฐานรากแผ่เมื่อรองรับน้ำหนักเท่ากัน
เสาเข็มที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยหากแบ่งตามกรรมวิธีการก่อสร้างจะมีด้วยกัน 2
แบบคือ
-
เสาเข็มตอก เป็นเสาเข็มที่ทำจากวัสดุคอนกรีตเสริมเหล็กหรือเป็นเสาเข็มไม้ก็ได้
จะถูกติดตั้งลงในชั้นดินด้วยการตอกด้วยปั้นจั่นหรือแรงคน
แบบแปลนฐานรากเสาเข็มควรระบุขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ความยาว
ความสามารถในการรับน้ำหนักต่อต้นให้ชัดเจน
-
เสาเข็มเจาะ เป็นเสาเข็มที่ถูกติดตั้งลงในดินฐานราก
โดยการใช้เคริ่องมือเจาะลงไปในชั้นดินเพื่อการทำการก่อสร้างเสาเข็ม
ซึ่งมีรายละเอียดและขั้นตอนในการก่อสร้างค่อนข้างมาก
เหมาะสำหรับการก่อสร้างในพื้นที่ที่ไม่สามารถขนย้ายเสาเข็มตอกได้สะดวกหรือมีสิ่งปลูกสร้างบริเวณใกล้เคียง
หากใช้เข็มตอกอาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มเจาะ
แบบแปลนควรระบุชนิดว่าเป็นเสาเข็มเจาะให้ชัดเจนส่วนรายละเอียดอื่นเหมือนเสาเข็มตอก
-
เสาตอม่อ จัดเป็นส่วนประกอบหนึ่งของฐานรากซึ่งเป็นเสาที่อยู่ในตำแหน่งที่เชื่อมต่อระหว่างฐานรากกับเสาและคานคอดิน
รายละเอียดในการเขียนแบบเสาตอม่อก็คือ การแสดงการดัดวางเหล็กที่ใช้เป็นเหล็กยืนในเสาซึ่งมีปลายอีกด้านหนึ่งอยู่ในฐานราก
สำหรับส่วนของเสาก็จะมีเพียงขนาดของเหล็กยืน จำนวน ขนาดของเหล็กปลอก และระยะห่างของเหล็กปลอก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น